ประเพณีภาคอีสาน ประเพณีภาคใต้




ประเพณีภาคอีสาน

ก้าวผ่านสู่ดินแดนที่ราบสูง วัฒนธรรมอีสานส่งความสนุกสนาน รูปแบบพิธีกรรมพื้นถิ่น อยู่ง่ายๆ คุยสบายๆ เสียงบั้งไฟดังสนั่นท้องฟ้าเพื่อขอฝน เชื่อมต่อสายสัมพันธ์มิตรภาพฝั่งโขง ชมบั้งไฟพญานาคถวายเ็ป็นพุทธบูชา ดื่มด่ำภาพความงดงามที่รังสรรค์โดยธรรมชาติ ตื่นตากับเส้นสายวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น ขยับแขนขาไปตามจังหวะการเซิ้ง และตามร่องรอยความยิ่งใหญ่ของอารยธรรมโบราณของดิน
แดนภาคพื้นทวีปพร้อมทั้งสัมพัสรอยยิ้ม และน้ำใจที่คุณจะได้รับตลอดการเดินทาง

ประเพณีภาคใต้

ลงสู่ปลายด้ามขวานทอง รอยต่อของประเพณีวัฒนธรรมชาวไทยมุสลีม ชาวไทยเชื้อสายจีน และชาวไทยพุทธที่สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างกลมกลืน ความแตกต่างได้กลายเป็นมนต์เสน่ห์ที่ชวนหลงใหล สองฝั่งขนานด้วยอ่าวไทย และอันดามัน ประเพณีไทยถูกปรับเข้ากันอย่างดีกับสภาพภูมิประเทศ ชักพระ ลากพระ ทั้งทางบก และทางน้ำ ฟังเสียงนกร้องดังประชันชิงชัย และหนังตะลุง และมโนราห์ เอกลักษณ์ของชาวใต้ ร่วมทำกุศลุญใหญ่ ละเว้นการฆ่าสัตว์ด้วยงานถือศีลกินเจ ความหลากหลายได้พบได้ตลอดแนวคาบสมุทรแห่งนี้

เมื่อเตรียมตัวพร้อม ลองหาเวลาว่างๆ เดินทางไปยังจุดหมายที่คุณสนใจ เปิดใจรับกับสิ่งใหม่ๆ ที่จะได้พบ เบื้อหน้า และเก็บเกี่ยวประสบการณ์ต่างๆ เมื่อได้เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม ประเพณีนั้นๆ และร่วมภาคภูมิใจ เข้าใจ และที่สำคัญคือรักษาให้คงอยูู่ พร้อมถ่ายทอดสู่คนรุ่นหลังตลอดไป

ประเพณีภาคเหนือ ประเพณีภาคกลาง

 https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEh0-dXH-9nQbLnTBWv8OYaFFteJzDY8r2B-646eqYYcCtABsb1_3FK4hBmB9aaZfl7KEMosmfqaxT6FY_YjL10A0pffXs-scLFqwFdssR5N2JS9S1H2GWLswsENXtyWew6NuIbQSjBeW7g/s1600/%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%B2.jpg
ประเพณีภาคเหนือ
ขึ้นเหนือสุดของดินอดนประเทศไทย ความงดงามของทัศนิยภาพรายล้อม อากาศที่เย็นสบาย ได้ชวนให้คุณติดตรตรึงใจไม่อาจละสายตาจากอารยธรรมอันเก่าแก่ของภูมิภาค ผ่านเรื่องราวตำนานประวัติศาสตร์ของอาณาจักรดั้งเดิม อาทิ ล้านนา สุโขทัย เพลิดเพลินกับความนุ่มนวลของช่วงจังหวะประเพณี สอดรับกับช่วงทำนองประเพณีพื้นบ้าน ตื่นตาตื่นใจกับความยิ่งใหญ่ และจุดกำเนิดชนชาติไทย ที่ยังคงปรากฎร่องรอย และถ่ายทอดสู่ประเพณีสืบทอดมาจนปัจจุบัน

ประเพณีภาคกลาง
ลัดเลาะไปตามสายน้ำต้นกำเนิดของสายธารใหญ่ เจ้าพระยาที่หล่อเลี้ยงชาวไทยมาช้านาน ดื่มด่ำกับภาพอันงดงามของแหล่งวัฒธรรมภาคกลาง ที่ยังคงลงรากลึกอยู่ในวีถีผู้คน ประเพณีวัฒนธรรมที่ลากผ่านสองฝั่งน้ำที่เต็มไปด้วยการตั้งถิ่นฐานของผู้คนหลากหลายเชื้อชาติที่ยังคงรักษาเอกลักษณ์ของตนเองไว้อย่างเหนียวแน่น เสียงกลองยาวดังสนั่น สอดรับขับกับท่วงคำกลอนสำเนีนงไทยแท้ ลุ้นระลึกไปกับประเพณีไทยที่สุดแสนจะเร้าใจ อีกทั้งเส้นสายของลวดลายของผู้คนหลากหลายชาติพันธุ์ที่อยู่ร่วมกันได้อย่างลงตัว

ประเพณีสู่ขวัญ

http://www.highlightthailand.com/uploaded/cms/m_content/image/kalas-302-2.jpg 
พิธีสู่ขวัญ หรือชาวบ้านเรียกว่า "พิธีบายศรี" คือพิธีเรียกขวัญหรืออวพรให้แก่ผู้ที่ควรเคารพ หรือคู่แต่งงานใหม่

คำว่า "ขวัญ" มีความหมาย 2 อย่าง คือ อย่างแรกหมายถึง ผม หรือ ขน ที่ขึ้นบนศรีษะมีลักษณะเป็นวงกลมเหมือน ก้นหอย อย่างที่สอง หมายถึง สิ่งไม่มีตัวตน
ประเพณีสู่ขวัญ สามารถปฎิบัติได้ ด้วยกัน 2 วิธี คือปฏิบัติตามศาสนาพุทธ กับ วิธีปฎิบัติตามศาสนาพราหมณ์

การปฎิบัติตามพระพุทธศาสนาคือ นิมนต์พระสงฆ์ จำนวน 5 รูป มาเจริญพระพุทธมนต์และถวายภัตตาหาร เป็นอันเสร็จพิธี

ส่วนการปฎิบัติตามพิธีศาสนาพาหมณ์ คือ การทำบายศรีปากชาม ซึ้งการจักทำบายศรีนั้นจะจัดทำตามฐานะของบุคลที่รับขวัญ คือบุคลธรรมดาสามาัญ จัดทำ 3 ชั้น และพระมหากษัตริย์ จัดทำ 9 ชั้น ภายในพานบายศรีจัมี ดอกไม้ ธูป เทียน ขนม เป็ด ไก่ และสุรา จากนั้นพราหมณ์จะอ่านคำเรียกขวัญและเชิญสิ่งศักดิ์ทั้งหลาย เช่น ท้าวจตุโลกบาล พระอิศวร พระนายรายณ์ พระพรหม เ็ป็นต้น ให้มาประชุมและประสาทพรแก่ผู้รับขวัญให้อยู่เย็นเป็นสุข
ประเพณีไทย

ประเพณีเข้าโสสานกัมม์

ประเพณีเข้าโสสานกัมม์
          ประเพณีเข้าโสสานกัมม์  หรือพิธีทุเจ้าเข้ากำ  เป็นวิธีทางพระพุทธศาสนาในจังหวัดเชียงใหม่  ซึ่งพระสงฆ์จะถือปฏิบัตินั่งสมาธิอย่างเคร่งครัด  เรียกว่า  “การเข้ากำ”  โดยพระสงฆ์จะต้องสำรวมและปลงสังขาร
          ในพิธีกรรมเข้าโสสานกัมม์นี้  ชาวบ้านจะจัดหาสถานที่ให้พระสงฆ์  และช่วยกันทำความสะอาดสถานที่นั้นๆ เพราะมีความเชื่อว่าการทำบุญกับพระสงฆ์ที่จะเข้ากรรมจะได้อานิสงส์สูง  ดังนั้น  จึงมีประชาชนไปร่วมทำบุญเป็นจำนวนมาก

ท่านสามารถอ่านบทความ ประเพณีบูชาอินทขิล ได้ที่นี่ค่ะ  ประเพณีบูชาอินทขิล

ประเพณีบูชาอินทขิล


ประเพณีบูชาอินทขิล
          อินทขิล คือ เสาหลักเมือง ชาวเชียงใหม่จะเรียกว่า เสาสะดือเมืองหรือเสาอินทขิล ปัจจุบันตั้งอยู่ในบริเวณวัดเจดีย์หลวง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

           “แต่เดิมเสาอินทขิลหรือเสาสะดือเมืองประดิษฐานอยู่ที่วัดสะดือเมือง หรือวัดอินทขิลข้างศาลากลางเก่า ซึ่งตั้งอยู่ใจกลางเมือง ชาวเชียงใหม่จึงเรียกว่า “สายดือเมือง” พอถึงสมัยพระเจ้ากาวิละครองเมืองเชียงใหม่ ได้ให้ย้ายเสาอินทขิลไปประดิษฐาน ณ วัดเจดีย์หลวง”

          เสาอินทขิลเป็นเสาหลักเมืองคู่บ้านคู่เมืองเชียงใหม่ และเป็นที่เคารพสักการะของชาวเชียงใหม่ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ด้วยเหตุนี้ ชาวเชียงใหม่จึงได้จัดประเพณีบูชาอินทขิลขึ้นเป็นประจำทุกปี

          พิธีสักการบูชาเสาอินทขิลนี้ ชาวเมืองเชียงใหม่ทั่วไปจะนำดอกไม้ ธูป เทียน ไปสักการบูชา ส่วนครูอาจารย์ต่างๆ จะทำพิธีขึ้นครู เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ตนเองและบ้านเมือง


ที่มา :  ประเพณีไทยน่ารู้