ประเพณีสู่ขวัญ

http://www.highlightthailand.com/uploaded/cms/m_content/image/kalas-302-2.jpg 
พิธีสู่ขวัญ หรือชาวบ้านเรียกว่า "พิธีบายศรี" คือพิธีเรียกขวัญหรืออวพรให้แก่ผู้ที่ควรเคารพ หรือคู่แต่งงานใหม่

คำว่า "ขวัญ" มีความหมาย 2 อย่าง คือ อย่างแรกหมายถึง ผม หรือ ขน ที่ขึ้นบนศรีษะมีลักษณะเป็นวงกลมเหมือน ก้นหอย อย่างที่สอง หมายถึง สิ่งไม่มีตัวตน
ประเพณีสู่ขวัญ สามารถปฎิบัติได้ ด้วยกัน 2 วิธี คือปฏิบัติตามศาสนาพุทธ กับ วิธีปฎิบัติตามศาสนาพราหมณ์

การปฎิบัติตามพระพุทธศาสนาคือ นิมนต์พระสงฆ์ จำนวน 5 รูป มาเจริญพระพุทธมนต์และถวายภัตตาหาร เป็นอันเสร็จพิธี

ส่วนการปฎิบัติตามพิธีศาสนาพาหมณ์ คือ การทำบายศรีปากชาม ซึ้งการจักทำบายศรีนั้นจะจัดทำตามฐานะของบุคลที่รับขวัญ คือบุคลธรรมดาสามาัญ จัดทำ 3 ชั้น และพระมหากษัตริย์ จัดทำ 9 ชั้น ภายในพานบายศรีจัมี ดอกไม้ ธูป เทียน ขนม เป็ด ไก่ และสุรา จากนั้นพราหมณ์จะอ่านคำเรียกขวัญและเชิญสิ่งศักดิ์ทั้งหลาย เช่น ท้าวจตุโลกบาล พระอิศวร พระนายรายณ์ พระพรหม เ็ป็นต้น ให้มาประชุมและประสาทพรแก่ผู้รับขวัญให้อยู่เย็นเป็นสุข
ประเพณีไทย