ประเพณีสู่ขวัญ

http://www.highlightthailand.com/uploaded/cms/m_content/image/kalas-302-2.jpg 
พิธีสู่ขวัญ หรือชาวบ้านเรียกว่า "พิธีบายศรี" คือพิธีเรียกขวัญหรืออวพรให้แก่ผู้ที่ควรเคารพ หรือคู่แต่งงานใหม่

คำว่า "ขวัญ" มีความหมาย 2 อย่าง คือ อย่างแรกหมายถึง ผม หรือ ขน ที่ขึ้นบนศรีษะมีลักษณะเป็นวงกลมเหมือน ก้นหอย อย่างที่สอง หมายถึง สิ่งไม่มีตัวตน
ประเพณีสู่ขวัญ สามารถปฎิบัติได้ ด้วยกัน 2 วิธี คือปฏิบัติตามศาสนาพุทธ กับ วิธีปฎิบัติตามศาสนาพราหมณ์

การปฎิบัติตามพระพุทธศาสนาคือ นิมนต์พระสงฆ์ จำนวน 5 รูป มาเจริญพระพุทธมนต์และถวายภัตตาหาร เป็นอันเสร็จพิธี

ส่วนการปฎิบัติตามพิธีศาสนาพาหมณ์ คือ การทำบายศรีปากชาม ซึ้งการจักทำบายศรีนั้นจะจัดทำตามฐานะของบุคลที่รับขวัญ คือบุคลธรรมดาสามาัญ จัดทำ 3 ชั้น และพระมหากษัตริย์ จัดทำ 9 ชั้น ภายในพานบายศรีจัมี ดอกไม้ ธูป เทียน ขนม เป็ด ไก่ และสุรา จากนั้นพราหมณ์จะอ่านคำเรียกขวัญและเชิญสิ่งศักดิ์ทั้งหลาย เช่น ท้าวจตุโลกบาล พระอิศวร พระนายรายณ์ พระพรหม เ็ป็นต้น ให้มาประชุมและประสาทพรแก่ผู้รับขวัญให้อยู่เย็นเป็นสุข
ประเพณีไทย

ประเพณีเข้าโสสานกัมม์

ประเพณีเข้าโสสานกัมม์
          ประเพณีเข้าโสสานกัมม์  หรือพิธีทุเจ้าเข้ากำ  เป็นวิธีทางพระพุทธศาสนาในจังหวัดเชียงใหม่  ซึ่งพระสงฆ์จะถือปฏิบัตินั่งสมาธิอย่างเคร่งครัด  เรียกว่า  “การเข้ากำ”  โดยพระสงฆ์จะต้องสำรวมและปลงสังขาร
          ในพิธีกรรมเข้าโสสานกัมม์นี้  ชาวบ้านจะจัดหาสถานที่ให้พระสงฆ์  และช่วยกันทำความสะอาดสถานที่นั้นๆ เพราะมีความเชื่อว่าการทำบุญกับพระสงฆ์ที่จะเข้ากรรมจะได้อานิสงส์สูง  ดังนั้น  จึงมีประชาชนไปร่วมทำบุญเป็นจำนวนมาก

ท่านสามารถอ่านบทความ ประเพณีบูชาอินทขิล ได้ที่นี่ค่ะ  ประเพณีบูชาอินทขิล

ประเพณีบูชาอินทขิล


ประเพณีบูชาอินทขิล
          อินทขิล คือ เสาหลักเมือง ชาวเชียงใหม่จะเรียกว่า เสาสะดือเมืองหรือเสาอินทขิล ปัจจุบันตั้งอยู่ในบริเวณวัดเจดีย์หลวง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

           “แต่เดิมเสาอินทขิลหรือเสาสะดือเมืองประดิษฐานอยู่ที่วัดสะดือเมือง หรือวัดอินทขิลข้างศาลากลางเก่า ซึ่งตั้งอยู่ใจกลางเมือง ชาวเชียงใหม่จึงเรียกว่า “สายดือเมือง” พอถึงสมัยพระเจ้ากาวิละครองเมืองเชียงใหม่ ได้ให้ย้ายเสาอินทขิลไปประดิษฐาน ณ วัดเจดีย์หลวง”

          เสาอินทขิลเป็นเสาหลักเมืองคู่บ้านคู่เมืองเชียงใหม่ และเป็นที่เคารพสักการะของชาวเชียงใหม่ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ด้วยเหตุนี้ ชาวเชียงใหม่จึงได้จัดประเพณีบูชาอินทขิลขึ้นเป็นประจำทุกปี

          พิธีสักการบูชาเสาอินทขิลนี้ ชาวเมืองเชียงใหม่ทั่วไปจะนำดอกไม้ ธูป เทียน ไปสักการบูชา ส่วนครูอาจารย์ต่างๆ จะทำพิธีขึ้นครู เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ตนเองและบ้านเมือง


ที่มา :  ประเพณีไทยน่ารู้