รู้หรือไม่ เพลงชาติไทยเคยมีการเปลี่ยนแปลงมาแล้วถึง 7 ครั้ง


รู้หรือไม่ เพลงชาติไทยเคยมีการเปลี่ยนแปลงมาแล้วถึง 7 ครั้ง

เพลงชาติไทย เวอร์ชั่นที่ใช้กันอยู่ทุกวันนี้ถือเป็น เพลงชาติไทยลำดับที่ 7 ประกาศใช้ในยุค จอมพลป. พิบูลสงคราม โดย รัฐนิยมฉบับที่ 6 เมื่อ วันที่ 10 ธันวาคม 2482 ประพันธ์ทำนองโดย พระเจนดุริยางค์ (ปิติ วาทยะกร) หรือชื่อเดิม ปีเตอร์ ไฟท์ (Peter Feit) ตั้งแต่ ปี 2475 ประพันธ์ทำนองแก้ไขเพิ่มเติมจากเดิมโดย พันเอกหลวงสารานุประพันธ์ (นวล ปาจิณพยัคฆ์) ในนามของ กองทัพบก ชนะการประกวดของ กรมโฆษณาการ ได้รับรางวัลมา 1,000 บาท สืบเนื่องมาจากการเปลี่ยนชื่อประเทศจาก สยาม มาเป็นไทย ในปีเดียวกันนั้น
       
       ∙∙ ก่อนหน้านั้นมี เพลงชาติไทย ใช้มาแล้ว 6 เพลง เริ่มต้นระหว่าง ปี 2395 – 2414 ใช้ทำนองเพลง God Save the Queen เป็นเพลงเกียรติยศถวายความเคารพแด่องค์พระมหากษัตริย์โดยเรียกว่า เพลงสรรเสริญพระบารมีอังกฤษ แต่ต่อมาเมื่อ พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) ประพันธ์เนื้อร้องขึ้นใหม่แล้วเรียกชื่อว่า เพลงจอมราชจงเจริญ นั่นแหละจึงถือเป็น เพลงชาติลำดับที่ 1 ในยุค รัชกาลที่ 5 เป็นต้นมา
       
       ∙∙ ต่อมา รัชกาลที่ 5 ทรงดำริว่าควรจะใช้ ทำนองเพลงไทย คณะครูดนตรีไทยจึงเลือก เพลงทรงพระสุบิน หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เพลงบุหลันลอยเลื่อน พระราชนิพนธ์ใน รัชกาลที่ 2 นำมาเรียบเรียงใหม่ให้เป็นสากลขึ้นโดย เฮวุดเซน ถือเป็น เพลงชาติลำดับที่ 2 ใช้บรรเลงระหว่าง ปี 2414 – 2431 ไม่นานนัก
       
       ∙∙ ส่วน เพลงชาติลำดับที่ 3 นั้นเกิดขึ้นในรัชสมัย รัชกาลที่ 5 ประพันธ์ทำนองโดยนักประพันธ์ชาวรัสเซีย ปโยตร์ สชูโรฟสกี้ (Pyotr Schurovsky) คำร้องเป็นพระนิพนธ์ของ สมเด็จกรมพระนริศรานุวัดติวงศ์ ใช้บรรเลงเป็นเพลงชาติในระหว่าง ปี 2431 – 2475 ใช้มายาวนานเพราะมี ท่วงทำนองไพเราะ, เนื้อหาสมบูรณ์ และทุกวันนี้ก็ใช้อยู่ในนามของ เพลงสรรเสริญพระบารมี นั่นเอง
       
       ∙∙ มาถึง เพลงชาติลำดับที่ 4 หลังการปฏิวัติของ คณะราษฎร เมื่อ วันที่ 24 มิถุนายน 2475 แม้จะมีการเตรียมการโดยสังเขปที่จะสร้าง เพลงชาติ ขึ้นมา ใหม่ โดยสมาชิกของคณะผู้ก่อการท่านหนึ่งมอบหมายให้ พระเจนดุริยางค์ เป็น ผู้ประพันธ์ แต่ยัง ไม่เสร็จ เลยต้องใช้ทำนองเพลงไทยเดิม เพลงมหาชัย ไปพลางก่อน เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) เป็นผู้ ประพันธ์เนื้อร้อง ใช้ในช่วงสั้น ๆ ไม่ถึง 1 เดือน ก็เปลี่ยนแปลงไป
       
       ∙∙ ต่อมาก็เป็น เพลงชาติลำดับที่ 5 ประพันธ์ทำนองโดย พระเจนดุริยางค์ (ปิติ วาทยะกร) เมื่อ วันที่ 4 กรกฎาคม 2475 ประพันธ์เนื้อร้องโดย ขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธุ์) บรรเลงครั้งแรก ณ พระที่นั่งอนันตสมาคมเมื่อ วันที่ 7 กรกฎาคม 2475 แต่ก็ใช้อยู่เพียงระหว่าง ปี 2475 – 2477 ก็มีการเปลี่ยนแปลงเฉพาะ เนื้อร้อง โดยประพันธ์เพิ่มเติมจากของเดิมที่เห็นกันว่า สั้นไป ให้ ยาวขึ้น โดย ฉันท์ ขำวิไล จึงถือเป็น เพลงชาติลำดับที่ 6 ใช้ระหว่าง ปี 2477 – 2482 และถือเป็น เพลงชาติอย่างเป็นทางการเพลงแรก ก่อนจะมาเปลี่ยนแปลงเป็น เพลงชาติลำดับที่ 7 ที่ใช้มาจนถึง ปัจจุบัน อันเนื่องมาจาก การเปลี่ยนชื่อประเทศ ดังที่เคยกล่าวไว้
       
       ∙∙ มีประเด็นเพิ่มเติมที่น่าสนใจในช่วง ปี 2477 ขณะนั้นมีเพลงที่เสนอขึ้นมาเป็น เพลงชาติไทย เช่นกันอีกเพลงหนึ่งที่อาจจะเรียกว่า เพลงชาติลำดับที่ 6/1 ใช้ ทำนองเพลงไทย ประพันธ์ทำนองโดย จางวางทั่ว พาทยโกศล โดยดัดแปลงมาจากเพลงไทยเดิม เพลงตระนิมิตร ช่วงนั้นเรียกคู่ขนานกันว่า เพลงชาติแบบสากล, เพลงชาติแบบไทย แต่ในที่สุดคณะกรรมการที่รัฐบาลตั้งขึ้นมาลงมติให้ใช้ เพลงชาติแบบสากล ประพันธ์ทำนองโดย พระเจนดุริยงค์ (ปิติ วาทยะกร) ที่รับการขอร้องจาก นาวาตรีหลวงวินิจเทศกลกิจ (กลาง โรจนเสนา) ตั้งแต่ ปี 2474 แต่มาคิดออกเมื่อ ปี 2475 นั่น
       
       ∙∙ จะเห็นได้ว่า เพลงชาติไทย เรานี้มีที่มาจาก แนวคิดตะวันตก หรืออาจพูดอีกอย่างว่า แนวคิดสากล ส่วน อุดมการณ์ของเพลงชาติไทย ฉบับปัจจุบันก็คือ ชาติ ในยุคก่อกำเนิดของ รัฐชาติสมัยใหม่ ในมุมมองของ ทหาร และเป็นเพลงที่จงใจแยกออกมาจาก สถาบันพระมหากษัตริย์ ที่มีอยู่
       
       ∙∙ เนื้อร้องของเพลงชาติไทยที่เปลี่ยนแปลงไปเมื่อ ปี 2482 แยกไม่ออกจากอุดมการณ์ ชาตินิยม หรืออาจพูดได้ว่า เชื้อชาตินิยม เพราะคำว่า ไทย ย่อมแคบกว่า สยาม และแน่นอนย่อมต้องมีอุดมการณ์ ประชาธิปไตย จุดกำเนิดที่ต้องการในทุกยุคทุกสมัยถ้าเรา ศึกษาประวัติศาสตร์โดยละเอียด แล้วจะพบว่าคือ ความต้องการของผู้ปกครองประเทศที่หมายจะสร้างความรู้สึกร่วมขึ้นภายในประเทศให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน แต่ทั้ง ผู้ประพันธ์ทำนอง และ ผู้ประพันธ์เนื้อร้อง จะเข้าใจ ลึกซึ้ง ถึง วิญญาณ หรือเพียงแต่ ทำงานตามที่ได้รับมอบหมาย นี่เป็นสิ่งที่ “เซี่ยงเส้าหลง” อ่านประวัติศาสตร์แล้ว มีข้อควรหารือ พอสมควร
       ที่มา : http://www.xn--k3cikmwc5gwb5fxbya.com/%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2/

มาร่วมกันอนุรักษ์ประเพณีวันออกพรรษาให้อยู่คู่ของชุมชน



มาร่วมกันอนุรักษ์ประเพณีวันออกพรรษาให้อยู่คู่ของชุมชน

                ในช่วงออกพรรษาแต่ละชุมชนนั้นมีประเพณีที่แตกต่างกันออกไปตามเชื่อของแต่ละชุมชน ซึ่งเราควรจะอนุรักษ์เอาไว้ให้ถึงรุ่นลูกรุ่นหลานได้สืบทอดต่อไป เพราะว่ากิจกรรมต่างๆที่แต่ละชุมชนจัดขึ้นนั้นล้วนมีผลกระทบในด้านดีมากมาย นอกจากจากกิจกรรมทางศาสนาที่เรายึดถือปฏิบัติสืบต่อกันมาแล้ว กิจกรรมหรือประเพณีอื่นๆที่มีถูกจัดขึ้นในช่วงนี้ก็มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนกว่ากันเลย เช่น ประเพณีตักบาตรเทโว ประเพณีงานเทศน์มหาชาติ  ประเพณีการทอดกฐินสามัคคี หรือประเพณีการทอดผ้าป่าก็ตามที สิ่งเหล่านี้เป็นประเพณีออกพรรษาที่ทำให้เกิดประโยชน์อีกหลายอย่างที่ อย่างเช่น
·         นำเงินมาวัด การจัดกิจกรรมต่างขึ้นในช่วงนี้ ต่างก็มีชาวพุทธทั้งหลายมาร่วมกันทำบุญ ทำทาน และบริจาคทรัพย์เพื่อการทำนุบำรุงวัด และ ศาสนสถาน ที่ชำรุดทรุดโทรม ได้มีเงินมาซ่อมแซมให้ดีดังเดิม
·         เพิ่มความสามัคคีในชุมชน การต้องมาเตรียมจัดงานประเพณีในชุมชนนั้นนอกจากรรมวัด หรือกรรมหมู่บ้านที่ต้องร่วมมือร่วมใจกันเพื่องานนี้แล้ว ผู้คนในชุมชนต่างต้องมีส่วนร่วมในงานนี้เช่นกัน เมื่อต้องทำงานด้วยงานเพื่อส่วนรวมจึงช่วยเพิ่มให้เกิดความสมัครสมานสามัคคีให้กับคนในชุมชนได้อย่างดี
·         ครอบครัวได้กระชับความสัมพันธ์ เมื่อมีงานใหญ่ขนาดนี้คนในครอบครัวไม่ว่าจะเป็นพ่อ แม่ ลูกสาว ลูกชาย ต้องมาร่วมด้วยช่วยกันทำกิจกรรม ทั้งเตรียมงานส่วนรวม เตรียมของส่วนตัวเพื่อกิจกรรม เช่น เตรียมข้าวสารอาหารแห้ง เพื่อตักบาตรเทโว หรือทำขนมสำหรับนำไปถวายพระ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้คนในครอบครัวได้อยู่ร่วมกันและทำงานเพื่อส่วนรวมมากขึ้น
·         หนุ่มสาวได้ทำกิจกรรมที่สร้างสรรค์ คนหนุ่มสาวในชุมชนนั้นคือพลังของชุมชน ทั้งพลังจากแรงกาย และพลังสมองที่สามารถช่วยกันคิด สร้างสรรค์ และร่วมแรงกันทำให้ประเพณีนี้ของชุมชนลุล่วงไปด้วยพลังจากวัยรุ่น
·         ส่งเสริมการท่องเที่ยว แน่นอนเมื่อมีกิจกรรมงานบุญแบบนี้ผู้คนจากต่างท้องถิ่น ต่างเดินทางมาเพื่อร่วมบุญ และท่องเที่ยวไปในตัว ดังนั้นช่วงนี้จึงเป็นช่วงที่สามารถช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจในชุมชนให้ดีขึ้นอีกด้วย
เมื่อมีประโยชน์ขนาดนี้แล้ว ทำไมเราจะไม่อนุรักษ์เอาไว้ ดังนั้นการอนุรักษ์ประเพณีที่ดีของชุมชนไว้ไม่ได้เป็นหน้าที่ของคณะกรรมวัด คุณกรรมการหมู่บ้านเพียงฝ่ายเดียว แต่มันคือหน้าที่คนของในชุมชนที่ต้องช่วยการสืบสานประเพณีออกพรรษาของแต่ละชุมชนเอาไว้ ซึ่งไม่ได้เป็นหน้าที่ที่หนักหนาอะไรเลย เพียงแค่เราคิดที่จะทำ แม้แต่เรื่องง่ายก็สามารช่วยได้ทั้งนั้น
·         เข้าร่วมงาน เรื่องง่ายๆที่สามารถทำได้ไม่ยากเลย แค่เราเข้าร่วมงานบุญต่างในชุมชน
·         ชวนคนอื่นมาร่วมงาน ชักชวนเพื่อนฝูง ญาติพี่น้องให้มาร่วมกันทำบุญในช่วงเทศกาลออกพรรษา
·         ช่วยประชาสัมพันธ์ เมื่อมีงานใหญ่ในชุมชุนของเราก็ประชาสัมพันธ์งานนี้ออกไปสู่คนอื่นที่อาจจะอยากมาร่วมงานนี้ด้วย ทั้งบอกต่อปากต่อปาก หรือใช้พลังของสื่อสังคมออไลน์ในปัจจุบันที่สามารถเข้าถึงได้อย่างรวดเร็ว เช่น Facebook, twitter, youtube ฯลฯ
หากเราทุกคนต่างรู้ถึงหน้าที่ของพุทธศาสนิกชนที่ดี เราย่อมสามารถปฏิบัติได้ดี หากเรารู้ถึงหน้าที่บทบาทของตนเองในชุมชน เราก็สามารถช่วยอนุรักษ์และพัฒนาประเพณีออกพรรษาของชุมชนให้อยู่อีกนานจากรุ่นสูรุ่นต่อๆไปได้ หากเราเพียงสำนึกในหน้าที่ของเรา
ท่านสามารถอ่านบทความเพิ่มเติ่มเกี่ยวกับวันออกพรรษาได้ที่นี่

ประเพณีภาคอีสาน ประเพณีภาคใต้




ประเพณีภาคอีสาน

ก้าวผ่านสู่ดินแดนที่ราบสูง วัฒนธรรมอีสานส่งความสนุกสนาน รูปแบบพิธีกรรมพื้นถิ่น อยู่ง่ายๆ คุยสบายๆ เสียงบั้งไฟดังสนั่นท้องฟ้าเพื่อขอฝน เชื่อมต่อสายสัมพันธ์มิตรภาพฝั่งโขง ชมบั้งไฟพญานาคถวายเ็ป็นพุทธบูชา ดื่มด่ำภาพความงดงามที่รังสรรค์โดยธรรมชาติ ตื่นตากับเส้นสายวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น ขยับแขนขาไปตามจังหวะการเซิ้ง และตามร่องรอยความยิ่งใหญ่ของอารยธรรมโบราณของดิน
แดนภาคพื้นทวีปพร้อมทั้งสัมพัสรอยยิ้ม และน้ำใจที่คุณจะได้รับตลอดการเดินทาง

ประเพณีภาคใต้

ลงสู่ปลายด้ามขวานทอง รอยต่อของประเพณีวัฒนธรรมชาวไทยมุสลีม ชาวไทยเชื้อสายจีน และชาวไทยพุทธที่สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างกลมกลืน ความแตกต่างได้กลายเป็นมนต์เสน่ห์ที่ชวนหลงใหล สองฝั่งขนานด้วยอ่าวไทย และอันดามัน ประเพณีไทยถูกปรับเข้ากันอย่างดีกับสภาพภูมิประเทศ ชักพระ ลากพระ ทั้งทางบก และทางน้ำ ฟังเสียงนกร้องดังประชันชิงชัย และหนังตะลุง และมโนราห์ เอกลักษณ์ของชาวใต้ ร่วมทำกุศลุญใหญ่ ละเว้นการฆ่าสัตว์ด้วยงานถือศีลกินเจ ความหลากหลายได้พบได้ตลอดแนวคาบสมุทรแห่งนี้

เมื่อเตรียมตัวพร้อม ลองหาเวลาว่างๆ เดินทางไปยังจุดหมายที่คุณสนใจ เปิดใจรับกับสิ่งใหม่ๆ ที่จะได้พบ เบื้อหน้า และเก็บเกี่ยวประสบการณ์ต่างๆ เมื่อได้เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม ประเพณีนั้นๆ และร่วมภาคภูมิใจ เข้าใจ และที่สำคัญคือรักษาให้คงอยูู่ พร้อมถ่ายทอดสู่คนรุ่นหลังตลอดไป

ประเพณีภาคเหนือ ประเพณีภาคกลาง

 https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEh0-dXH-9nQbLnTBWv8OYaFFteJzDY8r2B-646eqYYcCtABsb1_3FK4hBmB9aaZfl7KEMosmfqaxT6FY_YjL10A0pffXs-scLFqwFdssR5N2JS9S1H2GWLswsENXtyWew6NuIbQSjBeW7g/s1600/%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%B2.jpg
ประเพณีภาคเหนือ
ขึ้นเหนือสุดของดินอดนประเทศไทย ความงดงามของทัศนิยภาพรายล้อม อากาศที่เย็นสบาย ได้ชวนให้คุณติดตรตรึงใจไม่อาจละสายตาจากอารยธรรมอันเก่าแก่ของภูมิภาค ผ่านเรื่องราวตำนานประวัติศาสตร์ของอาณาจักรดั้งเดิม อาทิ ล้านนา สุโขทัย เพลิดเพลินกับความนุ่มนวลของช่วงจังหวะประเพณี สอดรับกับช่วงทำนองประเพณีพื้นบ้าน ตื่นตาตื่นใจกับความยิ่งใหญ่ และจุดกำเนิดชนชาติไทย ที่ยังคงปรากฎร่องรอย และถ่ายทอดสู่ประเพณีสืบทอดมาจนปัจจุบัน

ประเพณีภาคกลาง
ลัดเลาะไปตามสายน้ำต้นกำเนิดของสายธารใหญ่ เจ้าพระยาที่หล่อเลี้ยงชาวไทยมาช้านาน ดื่มด่ำกับภาพอันงดงามของแหล่งวัฒธรรมภาคกลาง ที่ยังคงลงรากลึกอยู่ในวีถีผู้คน ประเพณีวัฒนธรรมที่ลากผ่านสองฝั่งน้ำที่เต็มไปด้วยการตั้งถิ่นฐานของผู้คนหลากหลายเชื้อชาติที่ยังคงรักษาเอกลักษณ์ของตนเองไว้อย่างเหนียวแน่น เสียงกลองยาวดังสนั่น สอดรับขับกับท่วงคำกลอนสำเนีนงไทยแท้ ลุ้นระลึกไปกับประเพณีไทยที่สุดแสนจะเร้าใจ อีกทั้งเส้นสายของลวดลายของผู้คนหลากหลายชาติพันธุ์ที่อยู่ร่วมกันได้อย่างลงตัว

ประเพณีสู่ขวัญ

http://www.highlightthailand.com/uploaded/cms/m_content/image/kalas-302-2.jpg 
พิธีสู่ขวัญ หรือชาวบ้านเรียกว่า "พิธีบายศรี" คือพิธีเรียกขวัญหรืออวพรให้แก่ผู้ที่ควรเคารพ หรือคู่แต่งงานใหม่

คำว่า "ขวัญ" มีความหมาย 2 อย่าง คือ อย่างแรกหมายถึง ผม หรือ ขน ที่ขึ้นบนศรีษะมีลักษณะเป็นวงกลมเหมือน ก้นหอย อย่างที่สอง หมายถึง สิ่งไม่มีตัวตน
ประเพณีสู่ขวัญ สามารถปฎิบัติได้ ด้วยกัน 2 วิธี คือปฏิบัติตามศาสนาพุทธ กับ วิธีปฎิบัติตามศาสนาพราหมณ์

การปฎิบัติตามพระพุทธศาสนาคือ นิมนต์พระสงฆ์ จำนวน 5 รูป มาเจริญพระพุทธมนต์และถวายภัตตาหาร เป็นอันเสร็จพิธี

ส่วนการปฎิบัติตามพิธีศาสนาพาหมณ์ คือ การทำบายศรีปากชาม ซึ้งการจักทำบายศรีนั้นจะจัดทำตามฐานะของบุคลที่รับขวัญ คือบุคลธรรมดาสามาัญ จัดทำ 3 ชั้น และพระมหากษัตริย์ จัดทำ 9 ชั้น ภายในพานบายศรีจัมี ดอกไม้ ธูป เทียน ขนม เป็ด ไก่ และสุรา จากนั้นพราหมณ์จะอ่านคำเรียกขวัญและเชิญสิ่งศักดิ์ทั้งหลาย เช่น ท้าวจตุโลกบาล พระอิศวร พระนายรายณ์ พระพรหม เ็ป็นต้น ให้มาประชุมและประสาทพรแก่ผู้รับขวัญให้อยู่เย็นเป็นสุข
ประเพณีไทย

ประเพณีเข้าโสสานกัมม์

ประเพณีเข้าโสสานกัมม์
          ประเพณีเข้าโสสานกัมม์  หรือพิธีทุเจ้าเข้ากำ  เป็นวิธีทางพระพุทธศาสนาในจังหวัดเชียงใหม่  ซึ่งพระสงฆ์จะถือปฏิบัตินั่งสมาธิอย่างเคร่งครัด  เรียกว่า  “การเข้ากำ”  โดยพระสงฆ์จะต้องสำรวมและปลงสังขาร
          ในพิธีกรรมเข้าโสสานกัมม์นี้  ชาวบ้านจะจัดหาสถานที่ให้พระสงฆ์  และช่วยกันทำความสะอาดสถานที่นั้นๆ เพราะมีความเชื่อว่าการทำบุญกับพระสงฆ์ที่จะเข้ากรรมจะได้อานิสงส์สูง  ดังนั้น  จึงมีประชาชนไปร่วมทำบุญเป็นจำนวนมาก

ท่านสามารถอ่านบทความ ประเพณีบูชาอินทขิล ได้ที่นี่ค่ะ  ประเพณีบูชาอินทขิล

ประเพณีบูชาอินทขิล


ประเพณีบูชาอินทขิล
          อินทขิล คือ เสาหลักเมือง ชาวเชียงใหม่จะเรียกว่า เสาสะดือเมืองหรือเสาอินทขิล ปัจจุบันตั้งอยู่ในบริเวณวัดเจดีย์หลวง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

           “แต่เดิมเสาอินทขิลหรือเสาสะดือเมืองประดิษฐานอยู่ที่วัดสะดือเมือง หรือวัดอินทขิลข้างศาลากลางเก่า ซึ่งตั้งอยู่ใจกลางเมือง ชาวเชียงใหม่จึงเรียกว่า “สายดือเมือง” พอถึงสมัยพระเจ้ากาวิละครองเมืองเชียงใหม่ ได้ให้ย้ายเสาอินทขิลไปประดิษฐาน ณ วัดเจดีย์หลวง”

          เสาอินทขิลเป็นเสาหลักเมืองคู่บ้านคู่เมืองเชียงใหม่ และเป็นที่เคารพสักการะของชาวเชียงใหม่ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ด้วยเหตุนี้ ชาวเชียงใหม่จึงได้จัดประเพณีบูชาอินทขิลขึ้นเป็นประจำทุกปี

          พิธีสักการบูชาเสาอินทขิลนี้ ชาวเมืองเชียงใหม่ทั่วไปจะนำดอกไม้ ธูป เทียน ไปสักการบูชา ส่วนครูอาจารย์ต่างๆ จะทำพิธีขึ้นครู เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ตนเองและบ้านเมือง


ที่มา :  ประเพณีไทยน่ารู้

ยินดีต้อนรับ ทุกท่านสู่บ็อค ของดีของไทย


จากใจผู้เขียน
   เมืองไทยของเรามีประวัติศาสตร์สืบเนื่องมาเป็นเวลาช้านาน บรรพชนไทย ได้สั่งสมวิชาความรู้ด้านงานฝีมือ ศิลผะ ขนบธรรมเนียมประเพณี ผระวัติศาสตร์และศิลป์หลายแขนง อีกทั้งยังถ่ายทอดภูมิปัญญาสืบทอดกันมาทั้งรุ่นแล้วรุ่นเล่า เมืองไทยเราจึงมี "ของดี" มากมาย ไม่ว่าจะเป็นงานฝีมือซึ้นเป็นงานประณีตบรรจง อย่างเช่น เครื่องถม เครื่องปั่น เครื่องรัก เครื่องจักรสาน เครื่องเบญจรงค์ เครื่องเงิน ร้อยกรองดอกไม้ มีขนบธรรมเนียม ประเพณี และวิถีชีวิตที่เป็นเอกลักษณ์ เช่น การแข่งเรือยาว กระบวนพยุหยาตราชลมารค ตลาดน้ำ ลอยกระทง อาหารไทย ขนมไทย มีสถานที่สิ่งปลูกสร้างซึ่งสำคัญอย่าง พระบรมมหาราชวัง โบราณสถาน วัด เรือนไทย

   "ของดีของไทย" ถือเป็นสมบัติอันล้ำค่าของชาติที่ควรรักษาไว้สืบไป นี่จึงเป็นที่มาของ บ็อค "ของดีของไทย" : ซึ้งรวบรวมเรื่องไทยๆ "ของดี" เพียงบาส่วน มาให้คนไทยได้ศึกษา ให้คนรุ่นหลังได้สืบสานต่อไป ว่าประเทศไทยยังมีของดี ไม่น้อยหน้ากว่าประเทศอื่นๆ

โดย :เรื่องไทย ของดีของไทย

การนั่งสมาธิ


การนั่งสมาธิ
          แม้โลกภายนอกจะยุ่งวุ่นวายเพียงใดก็ตาม มนุษย์เราสามารถสร้างโลกภายในไม่ให้ว้าวุ่นตามได้ โดยการตั้งจิตให้มีความตั้งมั่น รวบรวมจิตที่ชอบคิดหลายๆเรื่องในเวลาเดียวกันให้มารวมเป็นจุดเดียว เพื่อให้เกิดพลังและพร้อมต่อการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ การวางแผน หรือการแก้ไขปัญหาต่างๆ นานา
          การฝึกจิตตามแนวพุทธศาสนามีอยู่หลายวิธี เริ่มกันตั้งแต่การสวดมนต์ เดินจงกรม ไปจนถึงการนั่งสมาธิ ซึ่งมีวิธีฝึกโดยการใช้สติจับที่ลมหายใจเข้าออกที่ยาวลึก พยายามดึงจิตที่คิดถึงเรื่องอื่นๆ กลับมา และฝึกให้เท่าทันความคิดต่างๆ ที่กำลังเกิดขึ้น การฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอจะทำให้จิตสงบขึ้น และสามารถรวมสติและสมาธิได้ทุกเมื่อยามต้องการใช้งาน นอกจากนี้ยังเกิดปัญญาไว้แก้ปัญหาที่ต้องเผชิญได้ สามารถมองโลกได้ตรงตามความเป็นจริง ไม่เกิดฉันทาคติหรืออคติใดๆ เท่านี้เราก็สามารถดำเนินชีวิตในโลกที่วุ่นวายตามได้อย่างมีความสุข

โดย :เรื่องไทยๆ ของดีของไทย    

ช้างไทย


ช้างไทย
           ช้างเป็นหนึ่งในสามของสัญลักษณ์ประจำชาติไทย เพราะในสมัยโบราณเราใช้ช้าวทำสงครามและฉุดลากซุงไม้ขนาดใหญ่ หากเป็นช้างเผืืิอกหรือช้างที่มีลักษณะพิเศษ ก็จะได้รับเกียรติให้เป็นสัตว์คู่พระบารมีของพระมหากษัตริย์ อีกทั้งไทยยังเคยใช้ "ธงช้างเผือก" เป็นธงประจำชาติไทยในสมัยรัชกาลที่ 2 ถึงรัชกาลที่ 6
           ช้างแบ่งออกเป็น 2 ตระกูล คือ ช้างเอเชียและช้างแอฟริกา ความแตกต่างระหว่างช้าง 2 ตระกูลนี้คือ ช้างเอเชียจะมีกะโหลกและมันสมองใหญ่กว่า คนจึงนิยมนำมาฝึกหัดใช้งานและเล่นละครสัตว์ เพราะฉลาดกว่าและไม่ดุร้าย ช้างไทยอยู่ในตระกูลช้างเอเชีย
           ปัจจุบันรัฐบาลไทยกำหนดวิธีการสงวนพันธุ์ช้างขึ้น เนื่องจากประชากรช้างไทยลดลงอย่างน่าวิตก ดังนั้นการจับช้างป่าและการส่งช้างออกไปยังต่างประเทศ จึงต้องได้รับการอนุมัติจากรัฐบาล เราในฐานะคนไทยคนหนึ่งก็ควรมีส่วนร่วมในการอนุรักษณ์พันธุ์ช้างด้วยเช่นกัน เพราะนอกจากจะเป็นการปลูกจิตสำนึกที่ดีแล้วก็ยังเป็นการคงไว้ซึ่งเอกลักษณ์ของชาติไทยสืบต่อไปด้วย

โดย :เรื่องไทยๆ ของดีของไทย    

นวดแผนโบราณ


นวดแผนโบราณ

          หัตถศาสตร์ เป็นวิชาที่ว่ัาด้วยการบำบัดรักษาโรคโดยวิธีนวดกดจุด ศาสตร์นี้มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ เป็นศิลปะการรักษาโรคที่มีจุดประสงค์หลักคือเพื่อเป็นการผ่อนคลายหรือทำให้กล้ามเนื้อส่วนที่ตึงได้หย่อนตัวลง ศาสตร์แขนงนี้ยังเป็นการปรับสมดุลช่วยให้ระบบต่างๆ ของร่างกายทำงานได้ดีขึ้น หลักการนวดจะเริ่มจากการเปิดลมที่ปลายเท้าขึ้นมาจนถึงหลัง นิ้วมือ ฝ่ามือ เรื่อยมาจนถึงไหล่ การเปิดจุดจะทำให้รู้ว่าผู้ที่มานวดนั้นปวดเมื่อยตรงไหน ทั้งยังทำให้เลือดลมวิ่ง และเส้นประสาทขยายตัว
          น้ำหนักนิ้วมือที่กดลงบนกล้ามเนื้อนั้นจะมี 3 จังหวะ คือ น้ำหนักเบาจะใช้แรงกดจากนิ้วมือเพียง 30 เปอร์เซ็นต์ น้ำหนักปานกลาง แรงกดจากนิ้วมือจะใช้ 60 เปอร์เซ็นต์ และ 90 เปอร์เซ็นต์จะเป็นการลงน้ำหนักของนิ้วมือเต็มที่
          ปัจจุบันการนวดเริ่มเป็นที่นยมแพร่หลายทั้งในหมู่ชาวไทยและนักท่องเที่ยวต่างชาติ โดยจะมีให้เลือกทั้งนวดแผนโบราณ กดจุด และนวดกับน้ำมันหอมระเหย

 โดย :เรื่องไทยๆ ของดีของไทย