เครื่องถม


เครื่องถม
          เครื่องถมเป็นภาชนะหรือเครื่องประดับที่ทำจากเงิน แล้วใช้ผงยาถมผสมน้ำประสานทองถมลงบนลวดลายที่แกะสลักบนภาชนะหรือเครื่องประดับนั้น แล้วขัดผิวให้เป็นเงางาม เครื่องถมที่ขึ้นชื่อมากและทำกันมาแต่ครั้งอยุธยาคือ เครื่องถมของจังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งเรียกกันติดปากว่า “ถมนคร”
          เครื่องถมเป็นประณีตศิลป์ที่เก่าแก่ มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เครื่องถมมี 3 แบบ คือ ถมเงิน (หรือถมดำ) ถมทอง และถมตะทอง ถมดำเป็นถมเก่าแก่ที่สุด ลักษณะเด่นคือ ต้องมีสีดำสนิท ไม่มีตามด (จุดขาวบนสีดำ) ถมทอง ก็คือถมดำนั่นเอง แต่ต่างกันที่ลวดลาย คือลายสีเงินก็จะเปลี่ยนเป็นสีทอง ส่วนถมตะทอง เป็นศัพท์ของช่างถม หมายถึงวิธีการระบายทองคำละลายปรอทหรือแต้มทองเป็นแห่งๆ เฉพาะที่ ไม่ได้ระบายจนเต็มเนื้อที่แบบทำการทำถมทอง
          ปัจจุบันเครื่องถมยังได้รับความนิยมจากคนทั่วไปทั้งไทยและต่างประเทศ จึงมั่นใจได้ว่างานประณีตศิลป์ชนิดนี้จะคงอยู่คู่ประเทศไทยตลอดไป

โดย :เรื่องไทย ของดีของไทย  

อัญมณี


อัญมณี
         มนุษย์เราสนใจในความสวยงามของอัญมณีมาแต่โบราณ คนไทยก็สนใจและถือว่าอัญมณีเป็นของมีค่าสูงและเป็นสิริมงคล โดยเฉพาะอัญมณี 9 ชนิด ที่เรียกว่า นพรัตน์หรือนวรัตน์ หรือแก้วเก้าประการ เรียงตามลำดับดังนี้
          เพชรมีสีใสวาว ทับทิม สีแดงอ่อนเหมือนเมล็ดทับทิม มรกต สีเขียวปีกแมลงทับ ไพฑูรย์ สีเหลืองเหมือนตาไม้ไผ่สุก โกเมน สีแดงแกมดำ เพทาย สีขาวปนเหลือง นิล สีน้ำเงินแก่จนถึงดำ บุษราคำ สีเหลืองใส มุกดา สีเหลือบเหมือนมุก
          เนื่องจากความงดงามผสานกับความเชื่อ คนส่วนใหญ่จึงมักนำอัญมณีมาประดับเรือนกาย เพื่อความเป็นสิริมงคลตามวันเกิด เช่น คนวันจันทร์ควรใช้มุกดา วันอังคารใช้โกเมน วันพุธใช้ไพฑูรย์ วันพฤหัสบดีใช้มรกต วันศุกร์ใช้บุษราคำ วันเสาร์ใช้นิล ส่วนวันอาทิตย์ใช้ทับทิม เป็นต้น
          อัญมณีเป็นสินค้าของที่ระลึกที่นักท่องเที่ยวให้ความสนใจซื้อหาไม่แพ้ผ้าไหม ด้วยความงดงามของอัญมณีและฝีมือเจียระไนของช่างไทย อัญมณีจึงเป็นที่ถูกใจของลูกค้าทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ

โดย :เรื่องไทย ของดีของไทย 

เครื่องเงิน


เครื่องเงิน
        
          เงินเป็นโลหะอีกชนิดหนึ่งที่ถูกนำมาทำเป็นเครื่องใช้ เครื่องประดับตั้งแต่โบราณ โดยปกติแล้วผลิตภัณฑ์เครื่องเงินจะหมายถึง ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากโลหะเงินที่มีความบริสุทธิ์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 92.5 โดยน้ำหนัก อาจมีการลงยาถมหรือเคลือบด้วยทองคำบริสุทธิ์ รมดำ และอาจใช้วัตถุพวกพลอย หิน มาประดับตกแต่งให้ดูสวยงาม ผลิตภัณฑ์เครื่องเงินแบ่งเป็น 6 ชนิด คือ เครื่องเงินแบบเรียบและแบบมีลวดลาย เครื่องถมเงิน เครื่องถมตะทอง เครื่องเงินลงยาสี เครื่องเงินรมดำ และเครื่องเงินชุบทอง
          เครื่องเงินได้รับความนิยมจากคนทั่วไปมาก เนื่องจากความสวยงามของลวดลายที่ส่วนใหญ่แกะหรือตีด้วยมือ จังหวัดแถบภาคเหนือจะทำเครื่องใช้และเครื่องประดับเงินกันมาก ส่วนภาคอีสานจังหวัดที่ขึ้นชื่อการทำเครื่องเงินก็คือจังหวัดสุรินทร์ ซึ่งจะทำเป็นลักษณะเงินเม็ดกลมแล้วร้อยเป็นเส้นที่เรียกว่า “ประเกือม” เครื่องเงินที่นี่สืบทอดกันมาตั้งแต่ครั้งบรรพบุรุษที่อพยพมาจากเขมรเมื่อหลายร้อยปีมาแล้ว

โดย :เรื่องไทย ของดีของไทย

ร้อยกรองดอกไม้


ร้อยกรองดอกไม้
         นับแต่โบราณมาแล้วที่คนไทยเรานำดอกไม้มาจัด ประดับประดา ทั้งในงานพิธีของราษฎร์ รัฐพิธี ราชพิธีต่างๆ รวมถึงพิธีกรรมทางศาสนา ด้วยความเกี่ยวพันดังกล่าวผสานกับความมีรสนิยมรักสวยรักงามและการมีจิตใจประณีตละเอียดอ่อน จึงเป็นแรงบันดาลใจให้บรรพบุรุษของเราสร้างสรรค์ ประดิษฐ์ ดัดแปลง ดอกไม้ที่สวยงามตามธรรมชาติอยู่แล้ว ให้งดงามวิจิตรขึ้นไปอีก
         การร้อยกรองดอกไม้มีมาแต่สมัยใดไม่แน่ชัด แต่ปรากฎหลักฐานว่าตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย ชาวไทยก็รู้จักร้อยกรองดอกไม้ดีอยู่แล้ว เช่น การประดิษฐ์โคมลอยรูปดอกบัวของนางนพมาศ จากนั้นการร้อยกรองดอกไม้ก็สืบทอดกันเรื่อยมาไม่ขาดช่วง โดยเฉพาะในรัชกาลที่ 5 ศิลปะในการร้อยกรองดอกไม้รุ่งเรืองเป็นอย่างมาก เพราะเจ้านายฝ่ายในใฝ่พระทัยในงานช่างดอกไม้ นอกจากจะทำตามแบบโบราณแล้ว ยังทรงดัดแปลง คิดค้นเพิ่มเติม ให้มีรูปแบบ ลวดลายที่งดงามยิ่งนัก จากอดีตถึงปัจจุบันงานร้อยกรองดอกไม้ชนิดต่างๆ ยังเป็นที่นิยม และไม่เลือนหายไปจากสังคมไทย เพราะได้มีการอนุรักษ์สืบทอดศิลปะแขนงนี้ไว้อย่างต่อเนื่อง

โดย :เรื่องไทย ของดีของไทย

ขนมไทย


ขนมไทย
         ขนมไทยแต่ละชนิดนอกจากจะทำออกมา "ดี" ตามหลักความเชื่อที่ส่งผ่านกันมาแต่โบราณแล้ว ยังต้องทำให้ถูกต้องตามลักษณะของขนมชนิดนั้นๆ อีกด้วย เหตุนี้เองคนรุ่นหลังจึงไม่มีโอกาสเห็นขนมไทยบางชนิด เพราะความยากที่ใช่จะอาศัยฝีมืออย่างเดียว หากยังต้องมีความอุตสาหะและความอดทนอย่างยิ่ง
         สุดยอดขนมไทยที่ล่ำลือกันว่าทำยากนักก็เห็นจะเป็น จ่ามงกุฎ
         ความยากลำบากของขนมชนิดนี้อยู่ที่การใช้มือกวาดเมล็ดแตงโมในกระทะทองเหลืองที่ตั้งบนเตาไฟไปมา จนน้ำเชื่อมที่พรมลงไปจับที่ผิวของเมล็ดแตงและขึ้นเป็นหนามพราวทั่วกัน ถึงจะนำไปติดประดับรอบๆ ตัวขนม ที่มองดูแล้วให้ภาพความรู้สึกว่าเหมือนมงกุฎเพชร กว่าจะสำเร็จออกมาเป็นจ่ามงกุฎก็ทำเอาปลายนิ้วสึกบางจนเลือดซึมเลยทีเดียว แล้วอย่างนี้จะไม่ให้กล่าวยกย่องความอุตสาหะของผู้หญิงสมัยนั้นว่า “แม่ร้อยชั่ง” ได้อย่างไรกันเล่า

โดย :เรื่องไทย ของดีของไทย

ผลไม้ไทย


ผลไม้ไทย
         ในบรรดาผลไม้เมืองร้อน ผลไม้ไทยถือได้ว่ามีคุณภาพและปริมาณไม่แพ้ประเทศอื่นในภูมิภาคเดียวกัน ทั้งนี้เป็นเพราะรสชาติที่กลมกล่อม และอร่อยถูกปากผู้ได้ลิ้มลอง อีกทั้งยังมีคุณค่าทางโภชนาการ อุดมไปด้วยวิตามินและเกลือแร่ มีเส้นใยอาหารสูง ช่วยในการขับถ่าย ช่วยให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง ผลไม้ไทยหารับประทนได้ง่ายตลอดทั้งปี ไม่ว่าจะเป็นกล้วย ฝรั่ง มะละกอ สับปะรด หรือมีเฉพาะฤดูกาลอย่าง เงาะ ชมพู่ มะม่วง แตงโม ระกำ ลองกอง ลำย โดยเฉพาะทุเรียนและมังคุด ซึ่งถือได้ว่าเป็นราชาและราชินีผลไม้ที่ควรจะรับประทานควบคู่กัน เนื่องจากมังคุดจะช่วยลดความร้อนของทุเรียน
         ด้วยความหลากหลายของผลไม้นานาชนิดที่มีรสชาติพาะผลไม้ของไทยจึงเป็นที่นิยมของชาวต่างประเทศ และเป็นพืชผลเศรษฐกิจที่นำเงินเข้าประเทศปีละไม่น้อย ไม่ว่าจะเป็นผลไม้สด ผลไม้แช่แข็ง หรือผลไม้แปรรูป ก็มีรสชาติอร่อยไม่แพ้กัน

โดย :เรื่องไทย ของดีของไทย

กล้วยไม้ไทย


กล้วยไม้ไทย
           ประเทศไทยได้ชื่อว่าเป็นดินแดนแห่งกล้วยไม้ เพราะมีสภาพป่าในธรรมชาติเหมาะสำหรับการเจริญเติบโต และมีกล้วยไม้มากถึง 1,150 ชนิด
           กล้วยไม้ไทยได้รับความนิยมชมชอบ และยกย่อเป็นกล้วยไม้อันสูงค่าจากทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ เพราะกล้วยไม้ไทยมีความโดดเด่นเรื่องความสวยงาม หลากหลายสีสันและรูปร่างลักษณะ มีจุดเด่นแปลกแตกต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็น “รองเท้านารี” ซึ่งมีกลีบดอกคล้ายปลายรองเท้าของสตรี ดูสวยงามแปลกตา “ฟ้ามุ่ย” กล้วยไม้สีฟ้าอมม่วงที่ได้รับการยกย่องว่าสวยงามที่สุดชนิดหนึ่งของโลก “เพชรหึง” กล้วยไม้ที่มีลำต้นขนาดใหญ่ที่สุดในโลก อีกทั้งกล้วยไม้เฉพาะถิ่นซึ่งพบเฉพาะในประเทศไทย เช่น สิงโตอาจารย์เต็ม ตองผา เอื้องปากนกแก้ว เอื้องพร้าวภูหลวง สิงโตสุขะกุล เป็นต้น
           ปัจจุบันกล้วยไม้ไทยหลายชนิดในธรรมชาติหลายชนิดเริ่มลดจำนวนลง เป็นที่น่าวิตกว่าอาจกำลังสูญพันธุ์ไปในไม่ช้า เราจึงควรสงวนรักษากล้วยไม้ไทยไว้เป็นมรดกทางธรรมชาติให้ลูกหลานไทยได้ชื่นชมไปอีกนาน

โดย :เรื่องไทย ของดีของไทย

ข้าวไทย


      จากเมล็ดหญ้าป่าที่มนุษย์หินใหม่ค้นพบโดยบังเอิญเมื่อ 5,000 ปีมาแล้วได้กลายเป็นอาหารหลักที่หล่อเลี้ยงประชากรกว่าค่อนโลก

      ข้าวเกี่ยวพันกับวิถีชีวิตและความเชื่อของคนไทยมาตั่งแต่โบราณ คนไทยเชื่อว่ามีเทพธิดาที่เรียกว่า "แม่โพสพ" เป็นผู้รักษาข้าว จึงมีพิธีกรรมเกี่ยวกับข้าว เพื่อแสดงความเคารพและระลึกถึงบุญคุณของแม่โพสพตลอดช่วงเพาะปลูกข้าว เช่น พิธีแรกนา พิธีทำบุญข้าว เป็นต้น

      เมืองไทยมีข้าวประมาณ 3,500 พันธุ์ ทั้งข้าวป่า ข้าวพันธุ์พื้นบ้าน และข้าวที่ผสมขึ้นใหม่ ปัจจุบันพันธุ์ข้าวของไทยได้รับการพัฒนาจนเป็นที่ยอมรับของตลาดโลก ในฐานะผู้ผลิตข้าวชั้นยอดที่มีชื่อว่า ซึ่งเรียกเพี้ยนไปเป็น ข้าวหอมมะลิ หรือ Jasmine Rice ด้วยคุณสมบัติอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของข้าวพันธุ์นี้ คือ มีกลิ่นหอมเหมือนใบเตย เมล็ดขาวเหมือนดอกมะลิ ตัวข้าวนุ่มเป็นเม็ดสวยเมื่อหุงสุกแล้ว

โดย :เรื่องไทย ของดีของไทย

แกะสลักผักผลไม้


แกะสลักผักผลไม้
งานแกะสลักผักผลไม้ ถือเป็นอีกหนึ่งงานฝีมือที่ผู้หญิงไทยสมัยก่อนต้องเรียนรู้และฝึกหัด โดนเฉพาะเหล่านารีที่อยู่ในรั่วในวัง
งานแกะสลักผักผลไม้เป็นงานที่แสดงถงความพยายามและความประณีตบรรจงของผู้หญิงในรั่วในวังสมัยก่อน ที่นอกจากจะทำให้รับประทานผักและผลไม้ได้อย่างสะดวกแล้ว ยังต้องมีความวิจิตรสวยงามอีกด้วย เรียกได้ว่าสวยทั้งรูป และกลมกล่อมทั้งรสชาติ จะบรรจงหั่นหรือจัดแต่งผักให้เป็นชิ้นพอดีคำ ส่วนผลไม้ก็จะต้องปอกเปลือกคว้านเมล็ด โดยที่ยังคงรูปลักษณ์เดิมของผลไม้ชนิดนั้นๆอยู่ หรือจะคิดดัดแปลงให้วิจิตรงดงามยิ่งขึ้น อาทิเช่น อ้อย ต้องนำไปเผาไฟทั้งเปลือกเพื่อให้ชานนุ่มและมีกลิ่นหอม แล้วจึงนำมาควั่นเป็นข้อๆ จากนั้นจึงใช้มีดเกลาแต่งให้เป็นรูปลางสาด ก่อนที่จะร้อยเข้าด้วยกันเป็นพวง หรือมะปรางริ้ว ผลไม้เนื้อนิ่มที่คนสมัยก่อนได้คิดค้นวิธีประดิดประดอยทำลวดลายเป็นริ้วต่างๆได้อย่างสวยงาม เช่น ลายเกล็ดเต่า ลายเกรียว และลายดอกกริชขวาง เป็นต้น

โดย :เรื่องไทย ของดีของไทย

อาหารไทย



    ขึ้นชื่อว่า อาหารไทย นอกจากสีสันและความอร่อยชวนกินที่ไม่มีวัฒนธรรมการกินชาติใดในโลกเสมือนแล้ว เอกลักษณ์อย่างหนึ่งของอาหารไทยก็คือวัตถุดิบหลักจำพวกเครื่องเทศ สมุนไพร ที่มักไม่ขาดในตำรับอาหาร เำพราะนอกจากจะมีสรรพคุณทางยาแล้ว คงปฎิเสธไม่ได้ว่า เครื่องเทศ สมุนไพรเหล่านี้คือเครื่องปรุงที่สร้างเสน่ห์และความโดดเด่นให้กับอาหารไทยไม่ใช้น้อย โดยเฉพาะในเรื่องของกลิ่น เช่น กลิ่นหอมของตะไคร้กับใบมะกรูด ซึ้นเป็นลักษณะเฉพาะของต้มยำ หรือกลิ่นหอมของกระชายในขนมจีนน้ำยา


    บรรดาเครื่องเทศ สมุนไพร นอกจากจะสะท้อนให้เห็นถึงปากะศิลป์การครัวไทย อาหารไทยยังแฝงภูมิปัญญาแห่งคสามเผ็ดร้อนของพริกไทยที่ช่วยขับลมในกระเำพาะอาหารอีกด้วย

    อาหารไทย อาหารเป็นยา จึงเป็นคำกล่าวที่แสดงถึงวัฒนธรรมการกินประจำชาติโดยแท้


โดย :เรื่องไทย ของดีของไทย

เครื่องเบญจรงค์




     เครื่องเบญจรงค์ เป็นเครื่องปั้นจากดินแล้วนำไปเคลือบก่อนจะเขียนลายโดยใช้วิธีลงยา เป็นงานที่เกิดขึ้นครั่งแรกในประเทศจีน เมื่อปลายพุทธศตวรรษที่ 20 สมันราชวงค์หมิง การเขียนลายโดยวิธีลงยาดังกล่าวจะใช้สีตั้งแต่ 3 สีขึ้นไป การเรียกชื่อ "เบฐจรงค์" เป็นการเรียกตามแบบไทย โดยมีความหมายว่า การเขียนลวดลายบนชิ้นงานที่ต้องใช้สี 5 สี คือ ดำ ขาว เหลือง แดง และเขียว(คราม)


     ความสวยงามของเบญจรงค์นั้นเป็นที่ต้องตาต้องใจราชสำนักและคนไทยในสมัยโบราณมาก ถึงกับการมีการสั่งผลิตเบญจรงค์จากจีน โดยไทยเป็นผู้กำหนดสิ่งที่ชอบ และลวดลายที่เป็นแบบไทยๆ นับตั้งแต่โบราณจนถึงปัจจุบันเครื่องเบญจรงค์ก็ยังได้รับความนิยมและพัฒนาการผลิตขึ้นเป็นลำดับ จนไทยเราทำเป็นสินค้าส่งออกได้อีกรายการหนึ่ง ซึ้งชาวต่างชาติจะทึ่งกับความละเอียดประณีต และลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์ไม่เหมือนใครในโลก


ของดีของไทย เรื่องไทย

มีดอรัญญิก

   
   หากถามหามีดคุณภาพดีเป็นที่รู้จักกันแพร่หลายต้องยกให้ "มีดอรัญญิก" ทั้งนี้เพราะมีดอรัญญิกเป็นมีดที่มีคุณภาพสูง ตัวมีดผลิตจากเหล็กที่มีความเนียวทนทาน มีความคมเป็นเลิศ ใช้งานได้ดีเยี่ยม อีกทั้งด้ามถือก็ทำมาจากไม้เนื้อแข็ง เช่น ไม้มะค่าโมง ไม้ประดู่ ไม้ชิงชัน ซึ้งมีลายไม้สวยงามตามธรรมชาติ

    "มีดอรัญญิก" นี้ มิได้ผลิตโดยชาวบ้านหมู่บ้านอรัญญิก แต่เป็นฝีมือในการผลิตของชาวบ้านหมูบ้านต้นโพธิ์และหมู่บ้านไผ่หนอง ตำบลท่าช้าง อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอายุธยา เนื่องจากในอดีตชาวบ้านต้นโพธิ์และไผ่หนองได้นำมีดไำปจำหน่ายที่หมู่บ้านอรัญญิก ซึ้นแหล่งค้าใหญ่ในเขตอำเภอท่าเรือ ผู้ซื้อมีดไปช้จึงเรียกกันติดปากว่า "มีดอรัญญิก"

   มีดแต่ละเล่มต้องผ่านกรรมวิธีหลายขั้นตอน ต้องลงแรงกายตีพะเนินกว่าร้อยครั่ง ต้องอดทนหน้าเตาร้อนระอุตลอดเวลา นับว่าเป็นงานหนักมิใช้น้อยแต่ทุกคนก้มีความมุ้งมั่นอุตสาหะกับงานที่สืบทอดกันมาแต่ครั้งบรรพบุรุษเพื่อเป็นการรักษาิลปหัตถกรรมแขนงนี้ให้คงอยู่กับประเทศไทยสืบต่อไป


โดย :เรื่องไทย ของดีของไทย

ผ้าไหมไทย

    
      ผ้าไหมไทยจัดได้ว่าเป็นงานศิลปหัตถกรรมพื้นบ้านของไทยที่งดงามที่สุดอย่างหนึ่งที่สืบทอดกันมาตั้งแต่โปราณจนถึงปัจจุบัน

      ผ้าไหมมีทั้งผ้าไหมเหนือ ผ้าไหมอีสาน และไหมพุมเรียงของภาคใต้ แต่ละแห่งมีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่นอย่างเห็นได้ชัด ผ้าไหมไทยทางภาคอีสาน นับเป็นผ้าไหมไทยที่ขึ้นชื่อว่างดงามที่สุดอย่างหนึ่ง โดยเฉพาะไหมมัดหมี่ที่มีความโดดเด่นทั้งสีสันและลวดลาย ทอกันมากที่ขอนแก่น ชัยภูมิ ส่วนสุรินทร์จะทอไหมคล้ายเขมร คืออกไปทางแดงเข้ม ไหมอีสานที่ขึ้นชื่ออีกอย่างคือ แพรวา ของกาฬสินธุ์

      ปัจุบันผ้าไหมไทยได้รับการสงเสริมจากมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ จึงทำให้กิจกรรมการทอผ้าไหมได้ฟื้นคืนมาสู่สังคมไทยอีกครั่ง มีการพัฒนาสีสัน รูปแบบและลวดลายให้งดงามยิ่งขึ้น เพื่อรองรับตลาดผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ

      ชาวต่างชาติจะนิยมชอบผ้าไหมไทยมากเพราะมีลวดลายสวยงามแปลกตาไม่เหมือนชาติใดในโลก โดยเฉพาะลวดลายที่เกิดจากความคิดสร้างสรรค์ของชาวบ้าน ผ้าไหมจึงนับเป็นศิลปะที่เกิดจากภูมิปัญญาของคนไทยอย่างแท้จริง
      

โดย :เรื่องไทย ของดีของไทย