หัวโขน


หัวโขน
          หัวโขนไทย เป็นเครื่องสวมหัวครอบหุ้มตั้งแต่ศีรษะถึงคอ เจาะรูตรงตาให้มองเห็น มีลักษณะต่างๆกันไปตามฐานะของตัวแสดง เช่น ตัวยักษ์ ลิง เทวดา หรืออื่นๆ เพื่อใช้ในการแสดงโขน ซึ่งเป็นกรแสดงอย่างหนึ่งของไทย ผู้แสดงจะต้องสวมหัวโขนหมดทุกตัว ยกเว้นตัวนาง พระ และเทวดา
          หัวโขนเป็นงานช่างชั้นครูที่ต้อใช้ฝีมืออย่างสูง ในการทำหัวโขนจะต้องมีหุ่นหัวโขนทำจากปูนหรือสลักไม้พอให้มีลักษณะหน้าหรือรูปศีรษะพอเป็นเค้าเพียงเล็กน้อย จากนั้นใช้กระดาษฟาง กระดาษสา หรือกระดาษข่อยอย่างบาง ชุบน้ำพอเปียกปะปิดจนทั่วหุ่น 3-4 ชั้น แล้วตามด้วยกระดาษทาแป้งเปียกปดทับจนหนาพอควร หลังจากพึ่งแดดจนแห้ง ก็นำมาขัดถูให้เรียบทั่วหัว ผึ่งแดดอีกครั้ง แล้วขัดจนขึ้นมัน ลอกกระดาษออกจากหุ่น จากนั้นก็ถึงขั้นตอนการตกแต่งหัวโขนด้วยรักสมุก และลงสีจนเสร็จ
          ปัจจุบันมิได้ผลิตหัวโขนเพื่อการแสดงเท่านั้น ยังมีการย่อหัวโขนให้มีขนาดเล็กลง เพื่อนำมาประดับตกแต่งบ้านและสถานที่ได้อย่างสวยงามและดูมีคุณค่ายิ่ง

โดย :เรื่องไทย ของดีของไทย